เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 10


Week

Input

Process

Output

Outcome

10
26 - 29
ธันวาคม
2559
โจทย์ 
ถอดบทเรียนคณิตศาสตร์ Q.3 และนำเสนอ

Key  Question
- นักเรียนจะนำเสนอบทเรียนคณิตศาสตร์  Q.3 ได้อย่างไร ?
นักเรียนคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไร?
อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดของเนื้อหาที่ได้เรียนรู้
 (แก่นความเข้าใจ)
มีกระบวนการทำอย่างไร และทำไมต้องทำแบบนี้
 (How to วิธีการ สำเร็จหรือล้มเหลว)
เราจะนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร
(คุณค่า) 
เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้มาแล้วใน Q.3 และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Show and Share : การนำเสนอชิ้นงาน
Mind Mapping :สรุปการเรียนรู้หลังเรียน
 สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
อินเทอร์เน็ต
วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง)
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่ผ่านมา
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด   
นักเรียนคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้อะไร?
อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดของเนื้อหาที่ได้เรียนรู้
มีกระบวนการทำอย่างไร และทำไมต้องทำแบบนี้
- เราจะนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนคิดวางแผนงานถอดบทเรียน
- นักเรียนเขียนงานถอดบทเรียนคณิตศาสตร์   Q.3 ในรูปแบบต่างที่ตนสนใจ ( Mind Mapping Flow Chart ฯลฯ) 
-นักเรียนแต่ละคนนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “จากการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ใน Q.3 นักเรียนสามารถทำอะไรได้ดีแล้วบ้าง และอะไรที่นักเรียนต้องพัฒนาเพิ่มเติมอีกบ้าง?
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเขียนประเมินตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสามารถทำอะไรได้ดีแล้ว และอะไรที่ต้องพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนรู้
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ภาระงาน
การเขียนงานถอดบทเรียนคณิตศาสตร์  Q.3 ในรูปแบบต่างๆที่ตนสนใจ ( Mind Mapping Flow Chart ฯลฯ)
การเขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
การตอบคำถาม
ชิ้นงาน
งานเขียนถอดบทเรียนคณิตศาสตร์  Q.3 ในรูปแบบต่างๆที่ตนสนใจ ( Mind Mapping Flow Chart ฯลฯ)
-  งานเขียนสิ่งที่ดีแล้ว-สิ่งที่ควรพัฒนา
ความรู้ 
เข้าใจและรู้ค่าจำนวน ในการบวก การลบ  แสดงให้เห็น ความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้

ทักษะ
ทักษะการคิด
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการแก้ปัญหา
 นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับทศนิยมในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่การอภิปรายเกี่ยวกับการเรียนรู้สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตัวอย่างภาพกิจกรรม



ตัวอย่างภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์สุดท้ายที่พี่ป.1 ได้ทบทวนความเข้าของตนเองในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตลอดทั้ง Q.3/59 จากนั้นได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน นำเสนอสิ่งที่ตนเองทำได้ดีแล้วและสิ่งที่พี่ป.1 อยากพัฒนาต่อในกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ส่วนใหญ่พี่ป.1 เข้าใจแลรู้ค่าจำนวน ทั้งยังสามารถนำจำนวนตัวเลขสองหลักมาดำเนินการทางการบวก การลบได้เป็นอย่างดี ด้วยวิธีการคิดที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ เส้นจำนวน ตารางช่อง หรือการกระจายจำนวน ได้สรุปความเข้าใจในรูปแบบของตนเอง จะมีพี่ป๋อ พี่บอส ที่ต้องทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับค่าของจำนวนค่ะ

    ตอบลบ