เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับการชั่ง ตวง โดยใช้เครื่องวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Week

Input

Process

Output

Outcome


6



โจทย์
การชั่งและการตวง (โดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน)
- การเปรียบเทียบน้ำหนัก (หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน)

คำถาม
นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งของสองอย่างมีน้ำหนักเท่ากัน หรือเบากว่า อย่างไร?

เครื่องมือคิด
- Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการชั่ง ตวงส่วนผสมทำดิน
- Blackboard Share : การเลือกเครื่องมือในการทำเครื่องชั่งอย่างง่าย
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking : ใบสูตรดินญี่ปุ่น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศรอบโรงเรียน

วันจันทร์ ( 2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาร่วมกัน
-ครูสาธิตการชั่งสิ่งของโดยใช้เครื่องชั่งสองแขน เริ่มจากวางสิ่งของลงที่ปลายแขนของเครื่องชั่งทั้งสองข้าง ให้นักเรียนช่วยกันสังเกต
เชื่อม
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทดลองชั่งน้ำหนักโดย ให้นักเรียนเลือกสิ่งของที่นำมาใช้เป็นหน่วยวัดไม่มาตรฐาน เช่น ฝาน้ำอัดลม ยางลบ ที่ยังไม่ได้ใช้ ลูกแก้ว เหรียญสิบบาท
- นักเรียนบันทึกผลการทดลอง แล้วออกมานำเสนอผลการทดลองครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูทบทวนการชั่งโดยใช้เครื่องชั่งสองแขน
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ชั่งสิ่งของที่กำหนดให้โดยใช้เครื่องชั่งสองแขน และมีฝาขวดน้ำอัดลมเป็นหน่วยกลางให้ แล้วบันทึกน้ำหนักที่ชั่งได้ลงใน
สมุด
เชื่อม
 ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้
นักเรียนบันทึกผลลงในสมุดเล่มเล็ก
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูให้นักเรียนคาดคะเนเปรียบเทียบน้ำหนัก โดยการสังเกตด้วยสายตาว่า สิ่งของชิ้นใดหนักกว่า หรือสิ่งของชิ้นใดเบากว่า โดยให้ทดลองกับสิ่งของหลายๆ อย่าง เท่าที่จะหาได้ภายในห้องเรียน
เชื่อม
 - ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
ใช้
นักเรียนบันทึกผลลงในสมุดเล่มเล็ก

วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ตลอดทั้งสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นในการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาร่วมกัน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ

ชิ้นงาน
- บันทึกเล่มเล็ก
- ใบงานเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
ความรู้
เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับการชั่ง ตวง โดยใช้เครื่องวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
- การแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
- ความรู้สึกเชิงจำนวน
การคิดสร้างสรรค์
- การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์
การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การสื่อสาร  สื่อความหมาย และการนำเสนอ

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

ตัวอย่างภาพกิจกรรม



ตัวอย่างภาพชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นอีกสัปดาห์สำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการชั่ง ตวง พี่ป.1 เลือกสิ่งของที่นำมาใช้เป็นหน่วยวัดไม่มาตรฐาน เช่น ฝาน้ำอัดลม ยางลบ ที่ยังไม่ได้ใช้ ลูกแก้ว เหรียญสิบบาท เท่าที่สามารถหาได้ใกล้ตัวและเท่าที่มีในห้องเรียนของเรา สนุกกับการคาดคะเนด้วยสายตา และการได้ลองจับเพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ เด็กๆ บอกได้เป็นอย่างดีว่าสิ่งไหนหนักกว่า เบากว่าหรือหนักเท่าๆ กัน โดยภาพรวมพี่ป.1 ทำออกมาได้ดีค่ะ

    ตอบลบ